CLOUD COMPUTING คืออะไร?เข้าใจแบบง่ายๆ
CLOUDCOMPUTING
Cloud Computing คืออะไร (แบบวิชาการ)
Cloud คือ การให้การบริการด้าน IT โดยผู้ใช้งานสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานได้อย่างอิสระ มีความยืดหยุ่นสูง และคิดค่าใช้บริการตามการใช้งานจริง สามารถใช้งาน Cloud ผ่าน Internet ดังนั้น Cloud จึงเป็นการบริการด้าน IT ที่สามารถใช้งานได้โดยไม่จำกัดสถานที่ ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย
Cloud Computing
คือ การที่คนเราใช้ซอฟต์แวร์,
ระบบ, และทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต
โดยสามารถเลือกกำลังการประมวลผล เลือกจำนวนทรัพยากร ได้ตามความต้องการในการใช้งาน
และให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลบน Cloud จากที่ไหนก็ได้จะเห็นว่าด้านในของกรอบที่เป็นก้อนเมฆก็คือทรัพยากรของผู้ให้บริการที่มีทั้ง
Hardware
และ
Software
(ซึ่งก็ทำงานบน
Hardware
ของผู้ให้บริการเช่นกัน)
ผู้ใช้บริการเพียงแค่ต่อเชื่อมเข้าไปใช้ผ่าน Network
ด้วยเว็บบราวเซอร์
หรือ Client
แอพพลิเคชั่น
บนอุปกรณ์ต่างๆของตน เช่น มือถือ, Tablet,
Notebook, หรือ
Chrome
book เป็นต้น
หลักการทำงาน CLOUD
COMPUTING
เช่น
เหมือนเรามีเว็บไซต์อยู่หนึ่งเว็บไซต์ที่คอมพิวเตอร์ Server
สามารถที่จะรับคนเข้ามามาดูเว็บไซต์จำนวน
1,000 คนต่อวัน แต่ถ้าวันไหนมีคนเข้ามาดูและใช้บริการมากกว่า 1,000 คน
ซึ่งเกินกำลังที่ Server จะรับไหว
ถ้าไม่มีการใช้งาน Cloud Computing เว็บไซต์ไหนก็จะล่ม
แต่ถ้ามีการใช้บริการ Cloud Computing ก็จะได้คอมพิวเตอร์
Server
แบบนี้อีกจำนวนหลายเครื่องหลักการทำงานหลักๆของ
Cloud
Computing ก็เหมือนกับแชร์
คอมพิวเตอร์ Server ที่มีอยู่ในกลุ่มเดียวกันให้มาช่วยทำงาน
ในกรณีที่มีการโอเวอร์โหลดของ
Server
หลักนั้นเอง
สมมุติว่าได้เครื่อง Server แบบเดียวกันเพิ่มขึ้นมาอีก
5 เครื่องก็จะทำให้จำนวนคนดูเพิ่มขึ้นไปเป็น 5,000 ต่อวันได้เลยทีเดียว
ประเภทของบริการ คลาวด์คอมพิวติ้ง
Cloud
Computing มีหลากหลายรูปแบบ
แต่ในที่นี้ ขอพูดถึงรูปแบบหลักๆ
3 แบบได้แก่
1.
Infrastructure as a Service (IaaS)
2.
Platform as a Service (PaaS)
3.
Software as a Service (SaaS)
Infrastructure
as a Service (IaaS)
IaaS หรือ Infrastructure-as-a-Service ที่จะเป็นลักษณะในการเช่าเครื่อง
โดยเราสามารถเลือก ระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมต่าง ๆ ตามที่เราต้องการได้ทั้งหมด
โดยผู้ให้บริการจะทำการจัดเตรียม เครื่องหรือทรัพยากรต่าง ๆ ให้เท่านั้น
ตัวอย่างเช่น
Amazon
AWS, Digital Ocean เป็นต้น
•-
ผู้ให้บริการ Cloud IaaS คือ
ผู้ที่ให้บริการเช่น
Amazon AWS, Digital Ocean ,Virtual
Server เป็นต้น (เครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน)
โดยจะครอบคลุมถึง CPU , RAM , DISK , Network , Server , OS
•- ผู้ใช้บริการ
IaaS จะเป็นผู้จัดหาและจัดทำ
Software
, license , Install , Configure ด้วยตนเอง
เว็ปอ้างอิง
Platform
as a Service (PaaS)
PaaS หรือ Platform-as-a-Service ที่เป็น
Layer
ที่สูงขึ้นมาหน่อย
เพราะทางผู้ให้บริการจะจัดเตรียมเครื่องและสิ่งที่จำเป็นมาให้ทั้งหมด
ซึ่งทำให้เราสามารถโฟกัสกับ
Application
ได้มากขึ้น
ไม่ต้องกังวลในเรื่องของ Infrastructure (Resource เช่น CPU,
RAM และเวอร์ชั่นของ OS ที่ใช้รัน)
•-
ผู้ให้บริการ Cloud PaaS คือผู้ที่ให้บริการ
Platform
เช่นMicrosoft
Azure, Google
เป็นต้น ที่นำไปใช้พัฒนา Application เช่น Database
, Application Template , Application License , Runtime , Middleware และ platform
ในการทดสอบ
run
program
•- ผู้ใช้บริการ
PaaS สามารถพัฒนา
Application
ได้อย่างสะดวก
รวดเร็ว โดยไม่ต้องอาศัยความรู้เฉพาะด้าน
เหมาะสำหรับการผู้ที่ต้องการใช้งานเครื่องมือในการเขียนโปรแกรม
และเครื่องมือในการทดสอบโปรแกรม paas icon
(Dupral, Wordpress, JBoss,
Java, PHP, Ruby on rail, Python,Perl)
Software
as a Service (SaaS)
SaaS หรือ Software-as-a-Service ที่เป็นประเภทที่ทุกคนน่าจะเคยใช้กัน
แต่ไม่รู้ว่ามันคือ SaaS ที่เป็น Software
ที่ให้ทุกคนได้ใช้งานได้เลย
โดยที่ไม่ต้องกังวล
หรือหาคนมาดูแล Infrastructure และคนมาสร้าง
Application
ให้เพราะทุกอย่างได้ถูกจัดเตรียมมาให้
Usersโดยผู้ให้บริการเรียบร้อยแล้ว
•-
ผู้ให้บริการ SaaS คือผู้ที่ให้บริการ Software
สำเร็จรูป
เช่น
Microsoft
Office, Google Drive, iCloud , Saleforce เป็นต้นโดยไม่ต้องติดตั้ง Software
ลงในเครื่อง
อาทิเช่นบริการ CRM, ERM, Mail, storage back up และอื่นๆเป็นต้น
•-
ผู้ใช้บริการ SaaS สามารถเลือกใช้งาน Application
ได้โดยไม่ต้องพัฒนา
Application
ด้วยตนเอง
ส่วนมากคิดค่าใช้จ่ายเป็น per user เช่นการใช้
DropBox , iCloud ,
Gmail เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ซอฟต์แวร์
ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา ทุกอุปกรณ์
โดยจะคิดค่าใช้จ่ายตามจำนวนผู้ใช้บริการจริง
สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้อีก
3 ประเภทคือ
•Public
Cloud คือ Cloud
ที่เปิดให้บริการกับผู้ใช้ทั่วไป
โดยมีการแบ่งทรัพยากรกัน คือเป็นใครก็ได้เข้ามาขอเช่า
ซึ่งการให้บริการในลักษณะนี้อาจจะไม่เหมาะกับธุรกิจที่มีการเก็บข้อมูลที่เป็นความลับสูง
ๆ อย่างธนาคารเท่าไหร่ เพราะเราต้องเก็บข้อมูลไว้กันคนอื่น
•Private
Cloud คือ Cloud
ที่องค์กรนั้น
ๆ เป็นผู้เปิดเอง เพื่อนำมาใช้ภายในองค์กรเท่านั้น
•Hybrid
Cloud คือ Cloud
ลูกผสมระหว่าง
Public
Cloud กับ
Private
Cloud ที่จะมีข้อมูลส่วนหนึ่งวิ่งและเก็บอยู่ภายใน
Private
Cloud เพราะข้อมูลมีความอ่อนไหว
(ไม่รู้จะใช้คำว่าอะไรเลย) ไม่สามารถเก็บไว้บน Public
Cloud ได้
และมีบางส่วนที่เก็บไว้บน Public Cloud
คุณสมบัติเด่นๆ
ของ Cloud
Computing
1. สามารถเข้าถึงได้ทุกทีที่มีอินเตอร์เน็ต
2. ใช้งานเท่าไรก็จ่ายเท่านั้น
3. มีอิสระทางทรัพยากรคอมพิวเตอร์
4. มีความยืดหยุ่นในการเพิ่มหรือลดระบบให้ตรงกับความต้องการ
5. ลดต้นทุน ค่าดูแล บำรุงรักษา
5. ลดต้นทุน ค่าดูแล บำรุงรักษา
ประโยชน์ของ
Cloud
Computing
•1. ประหยัดการลงทุนเรื่องทรัพยากรคอมพิวเตอร์ เพราะเปลี่ยนมาเป็นการเช่าระบบแทน
ซึ่งทำให้บริษัทที่มีเงินลงทุนจำกัดสามารถมีระบบสารสนเทศที่ดีใช้ได้เท่า
เทียมกับบริษัทอื่นๆ
•2.
สามารถสร้างระบบใหม่ขึ้นมาใช้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว เพราะว่าผู้ให้บริการจะจัดเตรียมทรัพยากรขนาดใหญ่ไว้รองรับผู้ใช้บริการอยู่
แล้ว ดังนั้นจึงไม่ต้องมีระยะเวลาการ ออกแบบระบบ สั่งซื้อฮาร์ดแวร์
และติดตั้งฮาร์ดแวร์
ซึ่งแค่นี้ก็ลดระยะเวลาดำเนินการไปเป็นเดือนเลยทีเดียว
•3.
เพิ่มขนาดทรัพยากรได้ง่ายดายและรวดเร็ว ในกรณีที่ระบบของผู้ใช้บริการมีขนาดใหญ่ขึ้นก็ย่อมต้องขยายทรัพยากรให้เพิ่ม
ขึ้นตามการใช้งาน
ซึ่งระบบที่เป็นของบริษัทเองคงต้องทำการออกแบบและสั่งซื้อและติดตั้งกัน
วุ่นวายเสียเวลา ด้วยการใช้บริการ Cloud
computing ก็ทำให้การเพิ่มขนาดทรัพยากรนั้นง่ายและรวดเร็วภายในข้ามคืนเท่านั้น
•4.
ขจัดปัญหาเรื่องการดูแลระบบทรัพยากรสารสนเทศ ออกไปให้ผู้ให้บริการ Cloud
computing ดูแลแทน
จึงทำให้ลดทั้งความยุ่งยากของการดูแลและลดจำนวนบุคลากรที่ต้องจ้างมาเพื่อ
ดูแลระบบอีกด้วย
สรุป
จากที่ได้เล่ามาทั้งหมดเป็นบอกได้เลยว่า
Cloud
Computing เป็นเทคโนโลยีที่กำลังมาแรง
และเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเรา
ในทุกขณะที่เรายังเสพข้อมูลจากโลกอินเตอร์เน็ตอยู่
มันซ่อนอยู่โดยที่เราไม่รู้ตัวเลยว่าเรากำลังใช้งานมันอยู่
และเปลี่ยนชีวิตของเราไปได้อย่างไร ทางฝั่งของธุรกิจ
ก็ทำให้สามารถเข้าใจฐานลูกค้าของตนเองได้มากขึ้น ในอนาคต ซึ่งCloud
Computing จะช่วยตอบสนองความต้องการของผู้พัฒนางานด้านไอทีได้อย่างดี
เว็ปอ้างอิง
เครดิต
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น